สีครามเป็นสีย้อมธรรมชาติที่เก่าแก่มาก ซึ่งมนุษย์รู้จักกันมามากว่า 6000 ปี ประชากรที่อาศัยในเขตร้อนของโลกล้วนเคยทำสีครามจากต้นไม้ชนิดต่างๆตามภูมิภาคนั้นๆ แต่สีครามคุณภาพดีผลิตจากเอเชีย ดังเช่น สีครามจากอินเดียเป็นที่นิยมของคนอังกฤษมากกว่าสีครามจากเยอรมันและฝรั่งเศส แต่การใช้สีครามลดลงเหลือเพียง 4 % ของทั่วโลกในปี 2457 ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2535 ประเทศของเราพบกับปัญหา มลพิษจากสิ่งแวดล้อม สาเหตุหนึ่ง เกิดจากสารเคมีสังเคราะห์ซึ่งรวมถึงสีย้อมด้วย สีย้อมผ้าส่วนใหญ่เป็นออกไซด์ของโลหะหนัก ซึ่งโลหะหนักหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ใส่แล้วรู้สึกร้อน ดังนั้น จึงหันมานิยมสีย้อมธรรมชาติ ซึ่งในขณะ เดียวกันก็ได้นำภูมิปัญญาเก่า ๆ ที่ได้สืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณจากเดิมเกือบลือหายไปแล้วนั้นกลับมาพัฒนาเป็นอาชีพหลักของลูกหลานในทุกวันนี้
ผ้าย้อมคราม
วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีการใช้ผ้าย้อมครามตั้งแต่เมื่อใด แต่มีการผลิตและใช้กันในชนเผ่าภูไท สกลนครเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย ที่ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าย้อมคราม และพัฒนาผ้าย้อมครามให้มีมาตรฐานสามารถนำผลิตภัณฑ์ผ้าครามจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าแทรกตลาดที่กำลังกลับมาบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารเคมีและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การทำผ้าย้อมครามบ้านโคกภู ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อเสาะแสวงหาพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก ตั้งรกรากปักฐาน จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ ไทญ้อ ไทโย้ย ภูไท ไทกะเลิง ไทโซ่ ไทข่า และไทลาว ชาวอีสานตอนบนมีวัฒนธรรมด้านเครื่องนุ่งห่มใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเป็นหลัก ทุกเผ่าจะมีเสื้อผ้าสีดำหรือน้ำเงินเป็นพื้นแตกต่างกันในรายละเอียดอื่นๆเท่านั้นนิยมนำไปย้อมผ้าและมัดเป็นลายเรียกว่าผ้าย้อมคราม
การทำผ้าย้อมครามบ้านโคกภู ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อเสาะแสวงหาพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก ตั้งรกรากปักฐาน จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ ไทญ้อ ไทโย้ย ภูไท ไทกะเลิง ไทโซ่ ไทข่า และไทลาว ชาวอีสานตอนบนมีวัฒนธรรมด้านเครื่องนุ่งห่มใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเป็นหลัก ทุกเผ่าจะมีเสื้อผ้าสีดำหรือน้ำเงินเป็นพื้นแตกต่างกันในรายละเอียดอื่นๆเท่านั้นนิยมนำไปย้อมผ้าและมัดเป็นลายเรียกว่าผ้าย้อมคราม
วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559
การเตรียมการย้อมผ้าคราม
การย้อมผ้าคราม
การเตรียมสีครามธรรมชาติจากใบครามสด
ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ทำสีครามธรรมชาติ จะทำสีครามจากใบครามสด ผู้ทำสีครามต้องระมัดระวัง ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บใบครามจากต้น ต้องเก็บในเวลาเช้ามืดก่อนที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือชาวเกาหลีจะเก็บใบครามจากต้นมาแล้วพักไว้ใกล้น้ำแข็ง แม้การแช่ใบครามก็แช่ในน้ำแข็ง เมื่อได้ของเหลวสีเขียวสดแล้ว ใช้ย้อมฝ้ายได้ทันที (Kim Ji-Hee 1998 : 100) นอกจากนี้ชาวเกาหลียังมีวิธีทำสีครามที่น่าสนใจ อีก 2 วิธีดังนี้ แช่ใบครามสดในหม้อน้ำ หมักไว้นาน 1-3 วัน จึงแยกกากใบครามออก เติมน้ำขี้เถ้าในน้ำครามทันทีในอัตราส่วน น้ำคราม : น้ำขี้เถ้า 1:1 กวนแรงๆ ด้วยพายไม้ไผ่จนกระทั่งเกิดฟองโตขนาดผลมะกอก จึงหยุดกวนพักของเหลาวผสมไว้ 1 สัปดาห์ จะได้สีครามสำหรับย้อมผ้า แช่ใบครามสดในหม้อน้ำ หมักไว้ 1-4 วัน แยกกากใบครามออก เติมปูนขาว ที่ทำจากการเผาเปลือกหอย ในน้ำคราม อัตราส่วน น้ำคราม : ปูนขาว 10 : 1 ปั่นของผสมด้วยไม้ไผ่รูปตัวทีจนกระทั่งเกิดฟองและแตกอย่างเร็ว พักของเหลวผสมไว้ให้ของเหลวส่วนบนใส จึงแยกที่ใสออกแล้วเติมน้ำขี้เถ้าในตะกอนคราม หมักไว้จนได้สีครามสำหรับย้อมผ้า
การเตรียมน้ำครามและเนื้อคราม
ให้บรรจุต้น กิ่ง ใบครามสดในภาชนะ ใช้มือกดใบครามให้แน่น เติมน้ำให้ท่วมหลังมือแช่ไว้ 10-12 ชั่วโมง จึงกลับใบครามข้างล่างขึ้นทับส่วนบน แช่ต่อไปอีก 10-12 ชั่วโมง จึงแยกกากใบครามออก ได้น้ำครามใส สีฟ้าจาง เติมปูนขาว 20 กรัมต่อน้ำคราม 1 ลิตร ถ้าชั่งใบครามสด 10 กิโลกรัม ใช้น้ำแช่ 20 ลิตร จะใช้ปูน 400 กรัม หรือเติมทีละน้อยจนฟองครามเป็นสีน้ำเงิน จึงกวนจนกว่าฟองครามจะยุบ พักไว้ 1 คืน รินน้ำใสทิ้ง ถ้าน้ำใสสีเขียวแสดงว่าใส่ปูนน้อย ยังมีสีครามเหลืออยู่ในน้ำคราม ถ้าใส่ปูนพอดี น้ำใสเป็นสีชา หากใส่ปูนมากเกินไป เนื้อครามเป็นสีเทา ใช้ไม่ได้ เนื้อครามดี ต้องเนื้อเนียนละเอียด สีน้ำเงินสดใสและเป็นเงา ซึ่งอาจเก็บเป็นเนื้อครามเปียกหรือเนื้อครามผงก็ได้ขึ้นอยู่กับการใช้งานในขั้นตอนก่อหม้อ อย่าเชื่อว่าแช่ใบครามนานแล้วจะได้สีครามมากเพราะผลการวิจัยปรากฏชัดว่า เมื่ออุณหภูมิคงที่ สีครามตั้งต้นในใบครามจะถูกสลาย (hydrolyse) ให้สีคราม (indoxyl) ออกมาอยู่ในน้ำครามได้มากที่สุดในเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น การแช่ใบครามที่ใช้เวลาน้อยหรือมากจนเกินไป จะได้สีครามเร็วให้แช่ใบครามในน้ำอุ่นไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส หรือโขลกใบครามสดในครกกระเดื่องและแช่ในน้ำที่อุณหภูมิปกติเพียง 12 ชั่วโมง
การก่อหม้อครามเตรียมน้ำย้อม
ชั่งเนื้อครามเปียก (indigo blue) 1 กิโลกรัมผสมน้ำขี้เถ้า 3 ลิตร ในโอ่งดิน โจกน้ำย้อม ทุกเช้า – เย็น สังเกต สีกลิ่น และฟอง วันที่ 3 ใช้มะขามเปียก 100 กรัมต้นกับน้ำ 1 ลิตร พักให้เย็น ผสมลงไปในโอ่งน้ำย้อม โจกครามทุกวันและสังเกตต่อไป ซึ่งน้ำย้อมจะใสขึ้น เปลี่ยนเป็นสีเขียวปนน้ำเงิน กลิ่นหอมอ่อน ฟองสีน้ำเงิน โจกครามทุกวันจนกว่าน้ำย้อมจะเป็นสีเหลืองอมเขียวหรือเขียวยอดตอง ขุ่นข้น ฟองสีน้ำเงินเข้มวาว ไม่แตกยุบ แสดงว่าเกิดสีคราม (indigo white) ในน้ำย้อมแล้ว ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 7 วัน
การเตรียมน้ำขี้เถ้า
น้ำขี้เถ้าที่ใช้ ทำมาจากขี้เถ้าของไม้บางชนิดเท่านั้น และต้องเตรียมให้ได้ความเค็มคงที่ หรือ ถ.พ. 1.05 ซึ่งโดยทั่งไปมักใช้เหง้ากล้วยเป็นหลัก เพราหาง่ายและทำให้สีครามติดฝ้ายได้ดีเตรียมโดยสับเหง้ากล้วยเป็นชิ้น ๆ ผึ่งแดดพอหมาด นำมาเผารวมกับทางมะพร้าว เปลือกผลนุ่นฯลฯ จนไหม้เป็นเถ้า ใช้น้ำพรมดับไฟ รอให้อุ่นจึงเก็บในภาชนะปิด ถ้าทิ้งไว้ให้ขี้เถ้าเย็น การละลายของเกลือในขี้เถ้าจะน้อยลง หรือถ้ารดน้ำดับไฟแล้วทิ้งไว้นานสารละลายเกลือจากขี้เถ้าก็ซึมลงดินบริเวณที่เผา ทุกอย่างจึงต้องแย่งชิงให้ถูกจังหวะ นำขี้เถ้าชื้นนั้นบรรจุในภาชนะทีเจาะรูด้านล่างไว้ อัดขี้เถ้าให้แน่นที่สุดเท่าที่ทำได้ เติมน้ำให้ได้ระดับเดียวกับขี้เถ้าก่อนกดอัด กรองเอาน้ำขี้เถ้าครั้งแรก แล้วเติมน้ำอีกเท่าเดิม กรองเอาน้ำขี้เถ้าครั้งที่สอง รวมกันกับน้ำขี้เถ้าครั้งแรก จะได้น้ำขี้เถ้าเค็มพอดีกับการใช้งานต่อไป
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และการเตรียมน้ำย้อม
วัสดุที่ใช้
1. เนื้อคราม หมายถึง ของแข็งผสมระหว่างปูนกับสีครามในรูปออกซิไดส์ (Indigo blue) สีน้ำเงินได้จากการตกตะกอนจากการกวนน้ำคราม
2. น้ำขี้เถ้า หมายถึง สารละลายจากขี้เถ้า เตรียมจากภาชนะเจาะรูด้านล่างและรองด้วยใยวัสดุเพื่อกรองขี้เถ้า บรรจุขี้เถ้าชื้นให้เต็มภาชนะแล้วกดขี้เถ้าให้แน่น เติมน้ำให้เต็มภาชนะและรองเอาน้ำขี้เถ้าครั้งที่ 1 เติมน้ำอีกเท่าเดิมแล้วกรอง รวมน้ำขี้เถ้าทั้ง 2 ครั้ง
3. ปูนขาว หมายถึง สารเคมีที่ได้จากการเผาหินปูนจนสุก ทิ้งให้เย็น โดยทั่วไปใช้กินกับหมากและแช่ผลไม้ เพื่อดองและแช่อิ่ม
อุปกรณ์ที่ใช้
1. หม้อดิน ใช้ในการแช่ครามและการย้อมคราม เลือกใช้โอ่งดินขนาดจุ 30 ลิตร เหตุที่เลือกหม้อดิน เนื่องจากน้ำย้อมที่เย็นกว่าจะติดสีได้ดีกว่า ในฤดูร้อนอุณหภูมิสูง การซึมของน้ำจากโอ่งดินจะทำให้น้ำย้อมเย็นกว่าบรรยากาศ หม้อครามจะดี รักษาสีย้อมไว้ได้นาน
2. เส้นฝ้าย เป็นฝ้ายที่ได้จากพืชที่เติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ดินทรายจนถึงดินเหนียวหรือดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง ปานกลาง แต่ฝ้ายต้องการความชื้นในดินสูง โดยเฉพาะช่วงที่ออกดอกเป็นสมอ ดังนั้นดินที่อุ้มน้ำได้ดีจึงเหมาะสมมากกว่า นอกจากนี้ฝ้ายยังต้องการแสงแดดจัด ต้องการอุณหภูมิประมาณ 25 องศา
3. ถังมีฝาปิด เพื่อแช่คราม เพราะน้ำหนักเบา สะดวกในการรินแยกของเหลวออกจากตะกอนคราม และแช่ได้น้ำครามปริมาณพอเหมาะกับกำลังการกวนคราม
4. ขัน เพื่อช่วยในการโจกครามและตักน้ำคราม
5.ส้อมกวนคราม คือ อุปกรณ์ไม้ไผ่สารด้านหนึ่งของปลายไม้ไผ่จะถูกสานคล้ายกรวยโดยจะใช้สำหรับตีน้ำครามขณะที่เติมปูนขาว ในการทำเนื้อคราม
6. ตะแกรงกรองคราม คือ ตะแกรงลวดที่ใช้ร่อนแป้ง หรือตะแกรงที่มีรูขนาดใหญ่กว่าที่กรองแป้ง ใช้สำหรับกรองระหว่างน้ำแช่ครามแยกออกจากกากคราม
การเตรียมน้ำย้อม
การเตรียมครามก่อนแช่
เมื่อนำครามที่เก็บได้มาแล้วก็นำครามสดมามัดเป็นฟ่อน โดยลักษณะการมัดเป็นฟ่อน คือ การนำต้นครามประมาณ 1 มือ ที่เก็บมาได้นั้น มาพับไปมาเป็นท่อนขนาด 1 ฝ่ามือ แล้วมัดตัวต้นครามด้วยกิ่งของต้นครามเอง คล้ายๆกับการมัดใบต้นตะไคร้ก่อนนำไปต้ม
วิธีการแช่คราม
นำฟ่อนครามมาเรียงภายในโอ่งดิน ประมาณ 3 ใน 4 ของโอ่งดิน แล้วเติมด้วยน้ำ โดยการเติมน้ำพอท่วมฟ่อนคราม เสร็จแล้วก็นำวัตถุหนักๆมาทับฟ่อนครามไว้เพื่อไม่ให้ฟ่อนครามนั้นลอยขึ้นมาเหนือน้ำ ช่วงเวลาในการแช่ครามไว้ในน้ำครั้งแรกแช่เป็นเวลา 10 ชั่วโมง ค่อยมากลับฟ่อนครามจากฟ่อนด้านล่างกลับมาไว้ด้านบน เอาฟ่อนครามด้านบนลงสู่ด้านล่างของโอ่งคราม เมื่อกลับฟ่อนครามเสร็จแล้วให้นำวัตถุที่หนักมาทับฟ่อนครามไว้ตามเดิมเป็นเวลา 8 ชั่วโมง
นำฟ่อนครามมาเรียงภายในโอ่งดิน ประมาณ 3 ใน 4 ของโอ่งดิน แล้วเติมด้วยน้ำ โดยการเติมน้ำพอท่วมฟ่อนคราม เสร็จแล้วก็นำวัตถุหนักๆมาทับฟ่อนครามไว้เพื่อไม่ให้ฟ่อนครามนั้นลอยขึ้นมาเหนือน้ำ ช่วงเวลาในการแช่ครามไว้ในน้ำครั้งแรกแช่เป็นเวลา 10 ชั่วโมง ค่อยมากลับฟ่อนครามจากฟ่อนด้านล่างกลับมาไว้ด้านบน เอาฟ่อนครามด้านบนลงสู่ด้านล่างของโอ่งคราม เมื่อกลับฟ่อนครามเสร็จแล้วให้นำวัตถุที่หนักมาทับฟ่อนครามไว้ตามเดิมเป็นเวลา 8 ชั่วโมง
หลังจากแช่ฟ่อนครามเป็นเวลา 18 ชั่วโมง ก็ทำการแยกฟ่อนครามออกจากน้ำครามที่ได้จากการสกัดด้วยน้ำ โดยวิธีการใช้มือหยิบฟ่อนครามออกมาและบิดฟ่อนครามเพื่อให้ฟ่อนครามมีน้ำติดออกมาน้อยที่สุด หรือให้ฟ่อนครามหมาดที่สุดเพื่อเป็นการเก็บเนื้อครามไว้ในน้ำคราม หากหยิบฟ่อนครามออกหมดแล้วให้นำตะแกรงช้อนเอาเศษใบครามที่ลอยอยู่บนผิวหน้าออกไปให้หมด
ปริมาณน้ำครามที่ได้จากการสกัด
น้ำครามที่ได้จากการแช่ใบครามสด 6.5 กิโลกรัมในน้ำ 21 กิโลกรัม เป็นเวลา 18 ชั่วโมง (น้ำทั่วใบครามพอดี) น้ำที่ได้จะมีสีเขียวปนฟ้า ปริมาณ 19 กิโลกรัม และมีน้ำครามเหลือติดกับฟ่อนครามเมื่อใช้มือบีบอีกไม่น้อยกว่า 2 กิโลกรัม
น้ำครามที่ได้จากการแช่ใบครามสด 6.5 กิโลกรัมในน้ำ 21 กิโลกรัม เป็นเวลา 18 ชั่วโมง (น้ำทั่วใบครามพอดี) น้ำที่ได้จะมีสีเขียวปนฟ้า ปริมาณ 19 กิโลกรัม และมีน้ำครามเหลือติดกับฟ่อนครามเมื่อใช้มือบีบอีกไม่น้อยกว่า 2 กิโลกรัม
การเติมปูนขาวหรือแคลเซียมออกไซด์
เมื่อเราสามารถแยกฟ่อนครามออกจากน้ำครามได้ เราสามารถเติมปูนขาวลงในน้ำครามได้เลยโดยการเติมแคลเซียมออกไซด์ (ปูนขาว) นั้นจะต้องค่อยๆ เติมลงพร้อมกับ กวนครามด้วย ลักษณะของน้ำครามเมื่อเติมแคลเซียมออกไซด์ (ปูนขาว) จะค่อยๆ เปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นสีเขียวมีฟองเป็นสีน้ำเงิน
เมื่อเราสามารถแยกฟ่อนครามออกจากน้ำครามได้ เราสามารถเติมปูนขาวลงในน้ำครามได้เลยโดยการเติมแคลเซียมออกไซด์ (ปูนขาว) นั้นจะต้องค่อยๆ เติมลงพร้อมกับ กวนครามด้วย ลักษณะของน้ำครามเมื่อเติมแคลเซียมออกไซด์ (ปูนขาว) จะค่อยๆ เปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นสีเขียวมีฟองเป็นสีน้ำเงิน
อัตราส่วนของน้ำครามและปูนขาว
ในการเติมแคลเซียมออกไซด์ (ปูนขาว) เติมลงในน้ำครามในอัตราส่วนแคลเซียมออกไซด์ 2 กรัม ต่อ น้ำคราม 100 มิลลิลิตร จึงจะทำให้น้ำครามเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ฟองสีน้ำเงิน
ในการเติมแคลเซียมออกไซด์ (ปูนขาว) เติมลงในน้ำครามในอัตราส่วนแคลเซียมออกไซด์ 2 กรัม ต่อ น้ำคราม 100 มิลลิลิตร จึงจะทำให้น้ำครามเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ฟองสีน้ำเงิน
การกวนคราม
เป็นวิธีการที่ทำให้สารในน้ำครามที่มีชื่อว่า อินดอกซิล (Indoxyl) ได้ทำ ปฏิกิริยาออกซิไดส์กับก๊าซออกซิเจนในอากาศได้ง่าย โดยสาร Indoxyl จะเปลี่ยนเป็น Indigo blue ซึ่งสารนี้เป็นสารสีน้ำเงินไม่ละลายน้ำจึงเป็นตะกอนของ Indigo blue ที่เล็กและละเอียดมาก การเติมปูนขาวและกวนครามแรงๆ ทำให้สาร Indigo blue เข้าไปปะปนกับเศษปูนขาว จึงสามารถแยกเนื้อครามออกจากน้ำครามโดยง่าย
เป็นวิธีการที่ทำให้สารในน้ำครามที่มีชื่อว่า อินดอกซิล (Indoxyl) ได้ทำ ปฏิกิริยาออกซิไดส์กับก๊าซออกซิเจนในอากาศได้ง่าย โดยสาร Indoxyl จะเปลี่ยนเป็น Indigo blue ซึ่งสารนี้เป็นสารสีน้ำเงินไม่ละลายน้ำจึงเป็นตะกอนของ Indigo blue ที่เล็กและละเอียดมาก การเติมปูนขาวและกวนครามแรงๆ ทำให้สาร Indigo blue เข้าไปปะปนกับเศษปูนขาว จึงสามารถแยกเนื้อครามออกจากน้ำครามโดยง่าย
ขั้นตอนการย้อมสีครามและลายผ้าคราม
ขั้นตอนการย้อมสีคราม
ขั้นตอนการทำสีครามด้วยวิธีธรรมชาติจากเปลือกไม้
วัตถุดิบที่ใช้ในการย้อมสีผ้าด้วยน้ำคราม ได้แก่ ใบคราม ต้นคราม เป็นไม้พุ่มล้มลุก ปลูกด้วยเมล็ด เมื่อต้นครามอายุได้ ๓-๔ เดือน ใบและกิ่งจะให้สีน้ำเงิน
การเตรียมใบคราม
๑. เมื่อต้นครามีอายุ ๔ เดือน ใบจะแก่พอเหมาะให้เริ่มเก็บเกี่ยวคราม ด้วยน้ำทั้งกิ่งและใบมามัดรวมกันเป็นก้อนๆ ขนาดก้อนละ ๕๐๐ กรัม
๒. นำกิ่งและใบครามที่ทำเป็นมัดลงไปแช่น้ำ ๑๘-๒๔ ชั่วโมง
๓. แยกกากใบทิ้ง เติมปูนกินหมากลงไปที่ละน้อย จนน้ำครามเหลืองเข้มมีฟองสีน้ำเงิน
๔. ตีน้ำคราม (กวนคราม) ให้เกิดฟองมากๆ ๑๕-๓๐ นาที แล้วพักไว้ ๑ คืน
๕. ครามจะตกตะกอนปนกับปูนขาว เทของเหลวใสสีน้ำตาลชั้นบนทิ้ง
๖. เนื้อครามที่ได้จะเก็บไว้ใช้ได้นาน
ขั้นตอนการก่อหม้อและการย้อมสีครามด้วยวิธีธรรมชาติจากเปลือกไม้
การก่อหม้อ
๑. นำเนื้อครามผสมกับน้ำขี้เถา สัดส่วน ๓๖๐ กรัมต่อ ๑ ลิตร
๒. พักน้ำครามไว้ภาชนะที่เย็นและมิดชิด
๓. ตักน้ำคราม ดูทุกวันๆละ ๒ ครั้งเช้า-เย็น
๔. เมื่อน้ำครามให้สีเขียวอมเหลืองจึงจะย้อมได้ ควรเรียมน้ำครามไว้ครั้งละหลายๆ หม้อ
๕. การย้อมให้นำผ้าฝ้ายที่ลางไขมันแล้ว และฝ้ายที่มัดหมี่แล้ว ลงย้อมในน้ำคราม ที่พร้อมจะย้อมได้(ใช้วิธีภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูและทดสอบ) และคั้นด้วยมือในน้ำคราม หลายๆหม้อในหนึ่งหม้อจะย้อม ได้แค่ครั้งเดียว ถ้าอยากให้สีครามเข้มให้ย้อม ๘-๑๐ หม้อ
๖. เมื่อย้อมติดครบจำนวนหม้อครามตามต้องการแล้วให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด จนไม่เหลือสีครามออกในน้ำล้าง
๗. ผึ่งให้แห้งนำไปสู่กระบวนการทอ
วิธีการย้อมมี ๒ วิธี
๑. การย้อมร้อน
๑. ต้มน้ำ ๒๐ ลิตร ให้เดือด
๒. เติมจุนสี ๒ ซ้อนแกง
๓. นำเปลือกไม้ลงต้มเคี่ยวให้ได้น้ำย้อมเข้มข้น ๑-๒ ชั่วโมง
๔. ตัดเอาเปลือกไม้ออก
๕. นำเส้นฝ้ายที่ล้างไขมันออกแล้ว ลงแช่ในน้ำสีขณะที่ยังร้อน ประมาณ ๓๐ นาที
๒. การย้อมเย็น
๑. การเตรียมน้ำสีกระทำโดยวิธีเดียวกันกับการย้อมร้อน
๒. เมื่อได้น้ำสีแล้วพักไว้ให้เย็น
๓. นำฝ้ายที่ล้างไขมันแล้วลงย้อมด้วยการใช้มือคั้นผ้ากับน้ำสี ประมาณ 30 นาที
๔. ล้างให้สะอาด และตากให้แห้ง
การถ่ายทอดภูมิปัญญาการกำหนดลายผ้า
๑. ถ้าการทอผ้าด้วยลายขัดธรรมดา ไม่ต้องกำหนดลายผ้า
๒.ลายมัดหมี่เป็นการทำลวดลายโดยการมัดกลุ่มเส้นพุ่งด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกฟางให้เป็นลายตามต้องการ
ผ้าครามลายต่างๆ
ลายช่อสน
ขั้นตอนการทอผ้าและผลิตภัณฑ์จากคราม
การทอผ้า
วิธีการมัดหมี่
หลังจากลอกลายตามรอยฉลุแล้ว ใช้เชือกฟางมามัดให้แน่นเพื่อป้องกันสีซึมเข้าในข้อหมี่ หลังจากมัดเสร็จก็จะได้ลายที่พิมพ์มาจากคอมพิวเตอร์ทันที
การมัดโอบหมี่
การมัดโอบคือ การมัดหมี่ครั้งที่สองเพื่อเก็บสีลายจากการมัดครั้งที่หนึ่งไว้ หลังจากการมัด โอบเสร็จแล้วนำหัวหมี่มาย้อมเป็นครั้งที่ 2 เพื่อจะให้หมี่เป็นลายอีกสีหนึ่งขั้นตอนการย้อมโอบจะทำอยู่หลายครั้งเมื่อต้องการลวดลายหลากหลายสีขึ้นอยู่กับลายที่จะนำมามัดหรือสีสันที่ต้องการ การย้อมสี
หลังจากการกรองคราม (เก็บเนื้อครามไว้) เวลาจะใช้ต้องนำเนื้อครามที่เก็บไว้ออกมาผสมกับน้ำด่างที่แช่ไว้ ในปริมาณครามประมาณ 1 ขีด ผสมกับน้ำด่าง 1 ขัน ต่อ 1 หม้อ ในการย้อม 1 ครั้ง และ1 ครั้ง และสามารถเพิ่มส่วนผสมทุกครั้งที่จะย้อม ไม่ต้องเปลี่ยนหม้อหรือล้างหม้อครามโดยเติมในอัตราดังที่กล่าวมาคลิกเพื่อดูขั้นตอนการย้อมคราม
หลังจากลอกลายตามรอยฉลุแล้ว ใช้เชือกฟางมามัดให้แน่นเพื่อป้องกันสีซึมเข้าในข้อหมี่ หลังจากมัดเสร็จก็จะได้ลายที่พิมพ์มาจากคอมพิวเตอร์ทันที
การมัดโอบหมี่
การมัดโอบคือ การมัดหมี่ครั้งที่สองเพื่อเก็บสีลายจากการมัดครั้งที่หนึ่งไว้ หลังจากการมัด โอบเสร็จแล้วนำหัวหมี่มาย้อมเป็นครั้งที่ 2 เพื่อจะให้หมี่เป็นลายอีกสีหนึ่งขั้นตอนการย้อมโอบจะทำอยู่หลายครั้งเมื่อต้องการลวดลายหลากหลายสีขึ้นอยู่กับลายที่จะนำมามัดหรือสีสันที่ต้องการ การย้อมสี
หลังจากการกรองคราม (เก็บเนื้อครามไว้) เวลาจะใช้ต้องนำเนื้อครามที่เก็บไว้ออกมาผสมกับน้ำด่างที่แช่ไว้ ในปริมาณครามประมาณ 1 ขีด ผสมกับน้ำด่าง 1 ขัน ต่อ 1 หม้อ ในการย้อม 1 ครั้ง และ1 ครั้ง และสามารถเพิ่มส่วนผสมทุกครั้งที่จะย้อม ไม่ต้องเปลี่ยนหม้อหรือล้างหม้อครามโดยเติมในอัตราดังที่กล่าวมาคลิกเพื่อดูขั้นตอนการย้อมคราม
ขั้นตอนการปั่นหลอด หรือกรอบหมี่
1. แก้หมี่ที่มัดเป็นเปราะๆ ออกก่อน (การแก้หมี่ คือการแก้เชือกฟางที่มัดให้เป็นลวดลายต่างๆ ออกให้หมด )
2. นำปอยหมี่ที่แก้เสร็จขึงใส่กง แล้วดึงเงื่อนเส้นหมี่มาผูกติดกับหลอดที่อยู่เข็มไนใช้มือปั่นหลา หรือไนโดยการหมุนเวียนซ้ายไปตลอด
3. เมื่อครบขีนของลายทันที แล้วปลดออกจากหลาหรือไนเก็บไว้เพื่อทอต่อไป
1. แก้หมี่ที่มัดเป็นเปราะๆ ออกก่อน (การแก้หมี่ คือการแก้เชือกฟางที่มัดให้เป็นลวดลายต่างๆ ออกให้หมด )
2. นำปอยหมี่ที่แก้เสร็จขึงใส่กง แล้วดึงเงื่อนเส้นหมี่มาผูกติดกับหลอดที่อยู่เข็มไนใช้มือปั่นหลา หรือไนโดยการหมุนเวียนซ้ายไปตลอด
3. เมื่อครบขีนของลายทันที แล้วปลดออกจากหลาหรือไนเก็บไว้เพื่อทอต่อไป
ขั้นตอนการสืบหูก
1. นำหมี่ที่ย้อมสีเสร็จแล้ว มากางเพื่อดึงให้เส้นหมี่ตึงเท่ากันจน 2. นำหมี่ที่ตึงเท่ากันแล้วมาต่อใส่ฟืม โดยการผูกติดกับกกหูก(กกหูก คือ ปมผ้าเส้นหมี่เดิมที่ทอติดไว้กับฟืมโดยไม่ตัดออกเพื่อที่จะต่อเครือหูกไว้ทอครั้งต่อไป
1. นำหมี่ที่ย้อมสีเสร็จแล้ว มากางเพื่อดึงให้เส้นหมี่ตึงเท่ากันจน 2. นำหมี่ที่ตึงเท่ากันแล้วมาต่อใส่ฟืม โดยการผูกติดกับกกหูก(กกหูก คือ ปมผ้าเส้นหมี่เดิมที่ทอติดไว้กับฟืมโดยไม่ตัดออกเพื่อที่จะต่อเครือหูกไว้ทอครั้งต่อไป
วิธีการกางหูก
1. นำฟืมที่สืบเครือหูกแล้วไปกางใส่กี่ โดยดึงหมี่ตึงสม่ำเสมอทุกเส้น 2. หูกที่กางเสร็จแล้วจะต้องเรียงเส้นหมี่หลังฟืม โดยแยกเส้นหมี่ออกไม่ให้ติดกันความยาวประมาณ 1 เมตร 3. นำไม้หลาวกลม 2 อัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. มาสอดคั่นให้เส้นหมี่ของเครือหูกไขว้กันเป็นกากบาทอยู่หลังฟืม เพื่อให้เลื่อนฟืมไปข้างหน้าในเวลาทอได้สะดวก
ขั้นตอนในการทอผ้า1. นำฟืมที่สืบเครือหูกแล้วไปกางใส่กี่ โดยดึงหมี่ตึงสม่ำเสมอทุกเส้น 2. หูกที่กางเสร็จแล้วจะต้องเรียงเส้นหมี่หลังฟืม โดยแยกเส้นหมี่ออกไม่ให้ติดกันความยาวประมาณ 1 เมตร 3. นำไม้หลาวกลม 2 อัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. มาสอดคั่นให้เส้นหมี่ของเครือหูกไขว้กันเป็นกากบาทอยู่หลังฟืม เพื่อให้เลื่อนฟืมไปข้างหน้าในเวลาทอได้สะดวก
1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง 2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ 3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา 4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ
สามารถสร้างมูลค่าให้กับผ้าโดยนำมาแปลรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่
1. กล่องใส่ทิชชู่
2. กระเป๋าสะพาย
3. กระเป๋าอเนกประสงค์
4. ซิ่นลายต่างๆ เช่น ลายกระจับ ลายไก่ตาน้อย ลายกระดูก ลายหมี่ขิด ลายดอกแก้ว ลายนกยูง ลายหมากจับ ลายขอในวัง ลายนากขอ และลายแม่กุญแจ
5. ชุดคราม
ผลิตภัณฑ์จากคราม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)