หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และการเตรียมน้ำย้อม

 
วัสดุที่ใช้

1.  เนื้อคราม  หมายถึง ของแข็งผสมระหว่างปูนกับสีครามในรูปออกซิไดส์ (Indigo blue)  สีน้ำเงินได้จากการตกตะกอนจากการกวนน้ำคราม


 
2.  น้ำขี้เถ้า  หมายถึง สารละลายจากขี้เถ้า  เตรียมจากภาชนะเจาะรูด้านล่างและรองด้วยใยวัสดุเพื่อกรองขี้เถ้า  บรรจุขี้เถ้าชื้นให้เต็มภาชนะแล้วกดขี้เถ้าให้แน่น  เติมน้ำให้เต็มภาชนะและรองเอาน้ำขี้เถ้าครั้งที่ 1  เติมน้ำอีกเท่าเดิมแล้วกรอง  รวมน้ำขี้เถ้าทั้ง  2  ครั้ง

3.  ปูนขาว  หมายถึง สารเคมีที่ได้จากการเผาหินปูนจนสุก  ทิ้งให้เย็น  โดยทั่วไปใช้กินกับหมากและแช่ผลไม้  เพื่อดองและแช่อิ่ม



  อุปกรณ์ที่ใช้
1.  หม้อดิน   ใช้ในการแช่ครามและการย้อมคราม  เลือกใช้โอ่งดินขนาดจุ 30 ลิตร  เหตุที่เลือกหม้อดิน เนื่องจากน้ำย้อมที่เย็นกว่าจะติดสีได้ดีกว่า ในฤดูร้อนอุณหภูมิสูง การซึมของน้ำจากโอ่งดินจะทำให้น้ำย้อมเย็นกว่าบรรยากาศ หม้อครามจะดี รักษาสีย้อมไว้ได้นาน
 
2.  เส้นฝ้าย   เป็นฝ้ายที่ได้จากพืชที่เติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด   ตั้งแต่ดินทรายจนถึงดินเหนียวหรือดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง ปานกลาง  แต่ฝ้ายต้องการความชื้นในดินสูง โดยเฉพาะช่วงที่ออกดอกเป็นสมอ  ดังนั้นดินที่อุ้มน้ำได้ดีจึงเหมาะสมมากกว่า  นอกจากนี้ฝ้ายยังต้องการแสงแดดจัด  ต้องการอุณหภูมิประมาณ  25 องศา

 
3.  ถังมีฝาปิด   เพื่อแช่คราม  เพราะน้ำหนักเบา สะดวกในการรินแยกของเหลวออกจากตะกอนคราม และแช่ได้น้ำครามปริมาณพอเหมาะกับกำลังการกวนคราม
4. ขัน  เพื่อช่วยในการโจกครามและตักน้ำคราม
5.ส้อมกวนคราม  คือ อุปกรณ์ไม้ไผ่สารด้านหนึ่งของปลายไม้ไผ่จะถูกสานคล้ายกรวยโดยจะใช้สำหรับตีน้ำครามขณะที่เติมปูนขาว ในการทำเนื้อคราม
6. ตะแกรงกรองคราม  คือ ตะแกรงลวดที่ใช้ร่อนแป้ง  หรือตะแกรงที่มีรูขนาดใหญ่กว่าที่กรองแป้ง ใช้สำหรับกรองระหว่างน้ำแช่ครามแยกออกจากกากคราม
การเตรียมน้ำย้อม
การเตรียมครามก่อนแช่
 เมื่อนำครามที่เก็บได้มาแล้วก็นำครามสดมามัดเป็นฟ่อน  โดยลักษณะการมัดเป็นฟ่อน  คือ  การนำต้นครามประมาณ  1  มือ  ที่เก็บมาได้นั้น  มาพับไปมาเป็นท่อนขนาด  1 ฝ่ามือ  แล้วมัดตัวต้นครามด้วยกิ่งของต้นครามเอง  คล้ายๆกับการมัดใบต้นตะไคร้ก่อนนำไปต้ม
 
วิธีการแช่คราม
        นำฟ่อนครามมาเรียงภายในโอ่งดิน  ประมาณ 3 ใน 4  ของโอ่งดิน  แล้วเติมด้วยน้ำ   โดยการเติมน้ำพอท่วมฟ่อนคราม   เสร็จแล้วก็นำวัตถุหนักๆมาทับฟ่อนครามไว้เพื่อไม่ให้ฟ่อนครามนั้นลอยขึ้นมาเหนือน้ำ          ช่วงเวลาในการแช่ครามไว้ในน้ำครั้งแรกแช่เป็นเวลา  10  ชั่วโมง  ค่อยมากลับฟ่อนครามจากฟ่อนด้านล่างกลับมาไว้ด้านบน  เอาฟ่อนครามด้านบนลงสู่ด้านล่างของโอ่งคราม  เมื่อกลับฟ่อนครามเสร็จแล้วให้นำวัตถุที่หนักมาทับฟ่อนครามไว้ตามเดิมเป็นเวลา  8  ชั่วโมง


การแยกน้ำคราม
        หลังจากแช่ฟ่อนครามเป็นเวลา  18  ชั่วโมง  ก็ทำการแยกฟ่อนครามออกจากน้ำครามที่ได้จากการสกัดด้วยน้ำ  โดยวิธีการใช้มือหยิบฟ่อนครามออกมาและบิดฟ่อนครามเพื่อให้ฟ่อนครามมีน้ำติดออกมาน้อยที่สุด  หรือให้ฟ่อนครามหมาดที่สุดเพื่อเป็นการเก็บเนื้อครามไว้ในน้ำคราม  หากหยิบฟ่อนครามออกหมดแล้วให้นำตะแกรงช้อนเอาเศษใบครามที่ลอยอยู่บนผิวหน้าออกไปให้หมด
ปริมาณน้ำครามที่ได้จากการสกัด
        น้ำครามที่ได้จากการแช่ใบครามสด  6.5  กิโลกรัมในน้ำ  21  กิโลกรัม  เป็นเวลา  18  ชั่วโมง  (น้ำทั่วใบครามพอดี)  น้ำที่ได้จะมีสีเขียวปนฟ้า  ปริมาณ  19  กิโลกรัม  และมีน้ำครามเหลือติดกับฟ่อนครามเมื่อใช้มือบีบอีกไม่น้อยกว่า กิโลกรัม
การเติมปูนขาวหรือแคลเซียมออกไซด์
          เมื่อเราสามารถแยกฟ่อนครามออกจากน้ำครามได้ เราสามารถเติมปูนขาวลงในน้ำครามได้เลยโดยการเติมแคลเซียมออกไซด์ (ปูนขาว)  นั้นจะต้องค่อยๆ  เติมลงพร้อมกับ  กวนครามด้วย   ลักษณะของน้ำครามเมื่อเติมแคลเซียมออกไซด์ (ปูนขาว)  จะค่อยๆ เปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นสีเขียวมีฟองเป็นสีน้ำเงิน

อัตราส่วนของน้ำครามและปูนขาว
        ในการเติมแคลเซียมออกไซด์ (ปูนขาว)  เติมลงในน้ำครามในอัตราส่วนแคลเซียมออกไซด์  2 กรัม  ต่อ  น้ำคราม  100  มิลลิลิตร  จึงจะทำให้น้ำครามเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  ฟองสีน้ำเงิน

การกวนคราม
   เป็นวิธีการที่ทำให้สารในน้ำครามที่มีชื่อว่า  อินดอกซิล (Indoxyl)  ได้ทำ ปฏิกิริยาออกซิไดส์กับก๊าซออกซิเจนในอากาศได้ง่าย  โดยสาร Indoxyl  จะเปลี่ยนเป็น  Indigo   blue  ซึ่งสารนี้เป็นสารสีน้ำเงินไม่ละลายน้ำจึงเป็นตะกอนของ  Indigo   blue  ที่เล็กและละเอียดมาก   การเติมปูนขาวและกวนครามแรงๆ  ทำให้สาร Indigo   blue  เข้าไปปะปนกับเศษปูนขาว  จึงสามารถแยกเนื้อครามออกจากน้ำครามโดยง่าย




  

 






 

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น