ประวัติความเป็นมา
ประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีการใช้ผ้าย้อมครามตั้งแต่เมื่อใด แต่มีการผลิตและใช้กันในชนเผ่าภูไท สกลนครเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย ที่ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าย้อมคราม และพัฒนาผ้าย้อมครามให้มีมาตรฐานสามารถนำผลิตภัณฑ์ผ้าครามจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าแทรกตลาดที่กำลังกลับมาบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารเคมีและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การทำผ้าย้อมครามบ้านโคกภู ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อเสาะแสวงหาพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก ตั้งรกรากปักฐาน จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ ไทญ้อ ไทโย้ย ภูไท ไทกะเลิง ไทโซ่ ไทข่า และไทลาว ชาวอีสานตอนบนมีวัฒนธรรมด้านเครื่องนุ่งห่มใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเป็นหลัก ทุกเผ่าจะมีเสื้อผ้าสีดำหรือน้ำเงินเป็นพื้นแตกต่างกันในรายละเอียดอื่นๆเท่านั้นนิยมนำไปย้อมผ้าและมัดเป็นลายเรียกว่าผ้าย้อมคราม
การทำผ้าย้อมครามบ้านโคกภู ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อเสาะแสวงหาพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก ตั้งรกรากปักฐาน จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ ไทญ้อ ไทโย้ย ภูไท ไทกะเลิง ไทโซ่ ไทข่า และไทลาว ชาวอีสานตอนบนมีวัฒนธรรมด้านเครื่องนุ่งห่มใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเป็นหลัก ทุกเผ่าจะมีเสื้อผ้าสีดำหรือน้ำเงินเป็นพื้นแตกต่างกันในรายละเอียดอื่นๆเท่านั้นนิยมนำไปย้อมผ้าและมัดเป็นลายเรียกว่าผ้าย้อมคราม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น